วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การพัฒนาทักษะ 5 ด้าน

การพัฒนาการเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาที่เรียนกับครูจันทร์เพ็ญ เป็นผู้มี:

1) IQ (Intelligence Quotient ) การพัฒนาให้ผู้เรียน ทักษะกรบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาดขึ้น ใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง2) EQ (Emotion Quatient) การพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเองและมีความมั่นคงทางอารมณ์3)TQ (Technology Quotient) การพัฒนาความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีและรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีต่าง ๆให้เหมาะสมกับความต้องการ4) AQ (Adversity Quotient) การพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อนและการเผชิญสภาพปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลงและทำงานภายใต้สภาวะความกดดันได้5) MQ(Morality Quotient) ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ผู้เรียนมีจิตใจงดงาม รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีและอยู่ในสังคม ความรู้ (Knowledge -based sociaty ) ได้เป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภาษาซี

ประวัติภาษาซีภาษาซีเป็นภาษาที่ถือว่าเป็นทั้งภาษาระดับสูงและระดับต่ำ ถูกพัฒนาโดยเดนนิส ริดชี (Dennis ritche) แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell laboratories) ที่เมอร์รีฮิล มลรัฐนิวเจอร์ซี่ โดยเดนนิสได้ใช้หลักการของภาษา บีซีพีแอล (BCPL : Basic Combine Programming Language) ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยเคน ทอมสัน (Ken tomson) การออกแบบและพัฒนาภาษาซีของเดนนิส ริดชี มีจุดมุ่งหมายให้เป็นภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมปฏิบัติการระบบยูนิกซ์ และได้ตั้งชื่อว่า ซี (C) เพราะเห็นว่า ซี (C) เป็นตัวอักษรต่อจากบี (B) ของภาษา BCPL ภาษาซีถือว่าเป็นภาษาระดับสูงและภาษาระดับต่ำ ทั้งนี้เพราะ ภาษาซีมีวิธีใช้ข้อมูลและมีโครงสร้างการควบคุมการทำงานของโปรแกรมเป็นอย่างเดียวกับภาษาของโปรแกรมระดับสูงอื่นๆ จึงถือว่าเป็นภาษาระดับสูง ในด้านที่ถือว่าภาษาซีเป็นภาษาระดับต่ำ เพราะภาษาซีมีวิธีการเข้าถึงในระดับต่ำที่สุดของฮาร์ดแวร์ ความสามารถทั้งสองด้านของภาษานี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ความสามารถระดับต่ำทำให้ภาษาซีสามารถใช้เฉพาะเครื่องได้ และความสามารถระดับสูง ทำให้ภาษาซีเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์ ภาษาซีสามารถสร้างรหัสภาษาเครื่องซึ่งตรงกับชนิดของข้อมูลนั้นได้เอง ทำให้โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซีที่เขียนบนเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่งได้ ประกอบกับการใช้พอยน์เตอร์ในภาษาซี นับได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นอิสระจากฮาร์ดแวร
ข้อดีของภาษา C 1.ภาษา C ใช้ได้ในไมโครคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขนาด 8 บิต 16 บิต 32 บิต มินิคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม มีการพัฒนาการใช้งาน เพื่อให้เป็นมาตรฐาน ไม่ขึ้นกับโปรแกรมจัดระบบงาน หรือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฮาร์ดแวร์) 2.ภาษา C มีหลายรุ่น มีผู้ผลิตต่างบริษัท แต่มีโครงสร้างคล้ายกัน และสามารถใช้ร่วมกันได้ 3.ภาษา C มีความอ่อนตัว สามารถเจาะลงระดับลึกให้เข้ากับฮาร์ดแวร์ ทำงานได้รวดเร็ว และที่สำคัญ ภาษา C เป็นคอมไพเลอร์ 4.ภาษา C เป็นภาษาที่มีโครงสร้าง
ข้อเสียของภาษาซี เนื่องจากภาษาซี มีรูปแบบการเขียนที่ให้อิสระแก่นักเขียนโปรแกรมมาก ดังนั้น การเขียนโปรแกรมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์แบบเดียวกันอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่นคำสั่ง x + = 1; กับ X ++; ทั้งสองคำสั่งมีผลลัพธ์เหมือนกัน หรือตัวดำเนินการบางตัวอาจทำให้สับสน เช่น การใช้เครื่องหมาย * ซึ่งมีความหมายได้ทั้งการคูณ หรือการหาค่าในเลขที่อยู่ของตัวชี้ที่อ้างถึงเมื่อเขียนโปรแกรมโดยไม่มีหมายเหตุ หรือเอกสารกำกับที่ดี อาจทำให้ต้องเสียเวลาทำความเข้าใจ เพิ่มค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาโปรแกรม เป็นต้น Source Program#include#includevoid main(){ clrscr(); printf("Name : kanit ploymon\n"); printf("Brithday : November 24, 1990\n"); printf("Age : 18\n"); printf("Weight : 60 kg\n"); printf("Hight : 175 cm\n"); printf("Address : 52 Moo 5 T.Rongheep A.bangkontee, Samutsongkram 75120\n"); getch();}